วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องนี้น่าจะออกสอบนะ วิธีการสอนแบบ Backward Design


สวัสดีเพื่อน ๆ วันนี้..ขอมาเน้นย้ำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Backward Design เพราะว่าบูมแอนด์บูมมากๆ เพราะว่าทางโรงเรียนส่งครูไปอบรม อบจนเกรียมกันไปหมดแล้วครับเนี่ย T_T (แต่เอาน่า..ได้ความรู้)ทำไม สพฐ. จึงเร่งอบรมครู ก็เพราะว่า สพฐ. จะนำมาใช้กับการเรียนการสอนทั่วทุกโรงเรียนนะสิครับ เหมือนกับหลักสูตรแกนกลาง’51 นั่นแหละ..ที่ตอนนี้ก็อบรมกันเกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้อย่างหนักเลย เราจึงมองว่า หาก สพฐ. จะออกข้อสอบ ก็น่าจะหยิบยกเกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้มาออกอย่างแน่นอน หรือถ้าสอบภาค ก. และ ข. ผ่านแล้ว สิ่งที่จะถามในภาค. ค. (สอบสัมภาษณ์) ก็น่าจะถามเกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้อย่างแน่นอน (ฟันเฟริ์ม) อิอิ.. ยังไงเพื่อนๆ ก็ดูไว้หน่อยแล้วกันนะครับ..เรื่องที่เราจะเน้นย้ำให้ดู น่าจะมีหลัก ๆ อยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ

1. โครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ

2. หลักสูตรแกนกลาง’51 (โดยเฉพาะข้อแตกต่างหรือที่เพิ่มจาก ปี44)

3. การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี Backward Design

ขอฝากให้เพื่อน ๆ ดูและจำในส่วนนี้ให้ขึ้นใจนะครับ...วิธีจำหลักๆ ไม่ต้องท่อง แต่ให้เน้นเล่าเรื่องได้ ราวกับว่าเล่านิทาน ยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับเรียนฟรี 15 ปีเขาให้ฟรีอะไรบ้าง มีหลักการยังไง ส่วนหลักสูตรแกนกลางก็จำว่าแตกต่างจากหลักสูตร 2544 ยังไง มีอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้างนะ แล้ววิธีการสอนแบบ Backward Design เนี่ยมีวิธีการสอนยังไง จุดเด่นตรงไหนเขาถึงจะนำมาใช้ทั่วประเทศของ สพฐ. อย่างงี้เป็นต้น เพื่อนๆ อย่าท่องจำแต่ให้หันมาเล่าเรื่องได้ เริ่มต้นด้วยการอ่านและมาเล่าให้เพื่อนๆ น้องๆ ญาติๆ ฟัง มันจะกลายเป็นความจำที่ฝังแน่นหรือคงทน หรือเรียกว่าจำจนเข้ากระดูกดำ (เหอๆ แรงไปไหม) ซึ่งดีกว่าท่องจำเป็นนกแก้ว นกขุนทองแล้วก็ลืมใช่ไหม๊ๆ..อีกอย่างหากพลาดคราวนี้ คราวหน้าก็จะไม่ต้องอ่านหนังสือเยอะ เพราะจำได้บางส่วนแล้ว ทำให้นึกออก คิดได้ ถ้าอ่านซ้ำสอง เป็นต้นไงครับ..แต่ยังไงคนที่เตรียมพร้อม ซ้อมดี ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งนะ....เพื่อน ๆ ว่าไม๊.. พูดจนลืมไปเลยว่าเอาอะไรมาฝากเพื่อน ๆ บ้าง นี่เลย.. ข้อมูลด้านล่างนี้แหละ สำคัญๆ

หลักการ แนวคิด Backward Design

Backward Design หรือการออกแบบย้อนกลับ เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้ วิธีนี้ได้เผยแพร่โดย Grant Wiggins และ Jay McTighe เมื่อ ค..1998 ได้ให้แนวการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับ

1 หน่วยการเรียนรู้ไว้ 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่

ขั้นที่ 1 กำหนดความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Identify desired results)ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นที่ 2 กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากได้เรียนรู้แล้วซึ่งเป็นหลักฐานการแสดงออกที่ยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ (Determine acceptable evidence of learning)

ขั้นที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้(Plan learning experiences and instruction) เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามหลักฐานการแสดงออกที่ระบุไว้ในขั้นที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม เพื่อไปอ่านเกี่ยวกับ การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ที่นี่...ครับ..โชคดีและโชคดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น